แนะนำคลับน่าเที่ยวในเพิร์ธ

เพิร์ธเป็นเมืองหลวงของรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย โดยเป็นหนึ่งในเมืองขนาดใหญ่ที่อยู่โดดเดี่ยวห่างจากเมืองอื่นๆ แต่ช่วงหลังๆ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตั๋วเครื่องบินจากเอเชียมีราคาถูก แม้ว่าจะไม่โด่งดังเท่าซิดนีย์หรือเมลเบิร์น แต่เพิร์ธก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองของนักดื่มและชาวปาร์ตี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ ซึ่งคนท้องถิ่นขนานนามว่า “ซันเดย์ เซสชั่น” นับเป็นช่วงเวลาชาวเพิร์ธนิยมออกมาดริงค์กันเป็นประจำ

แหล่งสถานบันเทิงหลักของเพิร์ธตั้งอยู่ในย่านนอร์ธบริดจ์ โดยมีร้าน Metro City Concert Club (146 Roe St., Northbridge) เป็นคลับที่ใหญ่ที่สุดและมักจะมีโชว์จากนานาชาติแวะเวียนมาจัดแสดงอยู่เรื่อยๆ คลับชั้นนำแห่งนี้ประกอบไปด้วยบาร์ 5 แห่ง ซึ่งสามารถมองเห็นฟลอร์เต้นรำที่นักเต้นประจำคลับและลูกค้าหลายร้อยคนออกมายักย้ายส่ายสะโพกกันอย่างเมามันส์ นอกจากนี้ คืนวันเสาร์ยังมีดีเจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเปิดเพลงแนวอาร์แอนด์บีและแนวเฮ้าส์ให้ได้รับฟังกัน

อีกหนึ่งสถานที่ซึ่งใหญ่โตและได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ ร้าน Hip-E Club (663 Newcastle Street, Leederville) ซึ่งเพิ่งจะฉลองครบรอบ 20 ปีไปเมื่อไม่นาน ถึงแม้จะไม่ได้เหริดหรูอลังการ แต่คลับแห่งนี้ก็อัดแน่นไปด้วยความสนุกสนาน พร้อมแดนซ์ฟลอร์ที่ตกแต่งด้วยบูธดีเจที่สร้างขึ้นจากรถแวนโฟล์คสวาเก้น คอมบิ รวมถึงมีดนตรีหลากหลายยุคสมัย ไล่มาตั้งแต่ยุค 70 80 90 ไปจนถึงยุค 2000 สำหรับผู้ฟังทุกรสนิยม ภายในคลับตกแต่งอย่างมีสีสันด้วยแสงไฟละลานตา ขณะที่ด้านนอกก็มีบริเวณกลางแจ้งสไตล์ทรอปิคัลที่มาพร้อมกับบาร์และร่มขนาดยักษ์

แต่หากคุณต้องการสถานที่แบบเก๋ไก๋ ก็ต้องไปลองที่ Geisha Bar (135a James st., Northbridge) ซึ่งเล่นเพลงอันเดอร์กราวน์ พร้อมทั้งมีการตกแต่งที่ผสมผสานศิลปะญี่ปุ่น ศิลปินป๊อปร่วมสมัย และที่นั่งสไตล์รถบัสเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นความสุนทรีย์แห่งการผ่อนคลายอย่างหรูหรา อย่างไรก็ตาม เตือนไว้อย่างหนึ่งว่าลูกค้าของที่นี่เป็นพวกไฮโซหน้าตาดีที่ชอบเดินเริดเชิดหยิ่งโชว์ออฟไปมา แถมบางทีคุณอาจจะไม่ได้เข้าไปนั่งในคลับด้วยซ้ำหากแต่งตัวไม่เข้ากับบรรยากาศของร้าน โดยที่นี่ยึดถือคติว่า “จะแต่งตัวสวยหรือแต่งตัวห่วยยังไงก็ได้…ขออย่างเดียวว่าให้โดน” Geisha เปิดให้บริการวันศุกร์และวันเสาร์ ตั้งแต่ 5 ทุ่มจนถึง 6 โมงเช้า

การท่องเที่ยวแบบอาสาสมัครในเชียงใหม่

การท่องเที่ยวแบบอาสาสมัครในเชียงใหม่

การท่องเที่ยวไทยในยุคนี้สมควรจะต้องถูกจารึกในประวัติศาสตร์ด้านการตลาด เนื่องจากได้ทำให้การท่องเที่ยวแบบธรรมดากลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว สมัยก่อนนั้น กว่าที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะตัดสินใจเอาเงินเก็บไปเที่ยวนั้น ต้องคิดหนักทีเดียว แต่ทุกวันนี้ กลายเป็นว่าใครๆ ก็อยากทำงานเก็บเงินไปเที่ยวแม่สายกันทั้งนั้น

การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเชิงอนุรักษ์ เชิงเกษตร หรือแบบอาสาสมัคร ต่างมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ จนทำให้ชาวต่างชาติได้เห็นมิติใหม่สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย ในขณะที่การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติได้รับความสนใจมากมายจากหลายโรงแรมในเชียงใหม่ แต่การท่องเที่ยวแบบอาสาสมัครนั้นมักถูกมองข้าม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะการได้อาสามาช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ให้ผู้คนในชุมชน ถือเป็นประสบการณ์ท่องเที่ยวที่คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังจะได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของคนในชนบทได้อย่างที่แท้จริง แบบที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

มีนักเดินทางอิสระหลายกลุ่มที่จัดกิจกรรมอาสาของตัวเอง แต่สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปโดยเฉพาะชาวต่างชาติ การไปหากิจกรรมทำเองคงจะเป็นเรื่องยุ่งยากอยู่ไม่น้อย ดังนั้น จึงมีตัวแทนรับจัดกิจกรรมอาสาสมัครในช่วงสั้นๆ ขึ้นมาโดยมีค่าใช้จ่าย แม้การช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์แบบนี้จะฟังดูล้าสมัยไปหน่อย แต่บริษัทตัวแทนเหล่านี้ก็คิดหาโครงการดีๆ ที่จะช่วยให้การอาสาสมัครของนักท่องเที่ยวเกิดประโยชน์สูงสุดได้

ปัจจุบัน เชียงใหม่เต็มไปด้วยโครงการอาสาสมัครมากมาย โดยมีตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจดังนี้:

การเป็นอาสาสมัครในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า

บ้านเด็กเวียงพิงค์ เป็นสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในเชียงใหม่ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ตั้งอยู่ใกล้กับศาลาว่าการจังหวัด ที่นี่ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่อยากจะมาเล่นกับเด็กๆ หลังเลิกเรียน เด็กเหล่านี้มาจากพื้นเพต่างๆ กัน บางคนเป็นเด็กกำพร้าจริงๆ แต่บางคนก็เป็นเด็กที่ถูกทิ้งหรือถูกล่วงละเมิด บ้านเด็กเวียงพิงค์แห่งนี้มีขนาดใหญ่และมีพื้นที่ใช้สอยพอสมควร อาจจะดูเหงาๆ ไปบ้าง แต่เด็กๆ ที่นี่ก็มีความสุขดีกับการได้มีโอกาสพบปะผู้คนจากที่ห่างไกล

นอกจากบ้านเด็กกำพร้าขนาดใหญ่อย่างเวียงพิงค์แล้ว ก็ยังมีสถานสงเคราะห์เล็กๆ แห่งอื่นที่บริหารงานโดยเอกชน ซึ่งยังคงต้องการความช่วยเหลืออีกมาก แม้บางแห่งอาจยังลังเลอยู่บ้างในการอ้าแขนต้อนรับอาสาสมัครที่จะเข้ามาในชีวิตของเด็กๆ แล้วก็ต้องจากไปในแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มชาวคริสต์ และดูเหมือนว่าพวกเขาต้องการอาสาสมัครที่เต็มใจจะเข้ามาช่วยในระยะยาวมากขึ้น อาจจะเป็นช่วง 6 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น สองโครงการที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ บ้านอากาเป้ (Agape Home) สำหรับเด็กที่ติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ และบ้านดอกไม้ป่า (Wildflower Home) ซึ่งเป็นที่พักพิงสำหรับแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพัง หรือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

สอนภาษาอังกฤษในวัด

เมื่อจองที่พักในเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเลือกห้องไหนก็มักจะต้องมีวิวที่มองเห็นวัดได้ เมืองเชียงใหม่นี้มีโรงเรียนวัดจำนวนมาก เด็กผู้ชายจากชนบทหรือจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนจะพากันมาเรียนฟรีที่นี่ เด็กที่มาเรียนมักจะบวชเป็นสามเณร ห่มจีวร โกนผม แต่ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบแล้ว ก็จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิม ภาษาอังกฤษก็เป็นอีกวิชาหนึ่งที่เรียนกันที่นี่ และทางผู้บริหารของโรงเรียน (ซึ่งก็เป็นพระเช่นกัน) ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีชาวต่างชาติมาช่วยสอนทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ

นอกจากจะได้มาเก็บภาพความประทับใจแล้ว การได้มาสอนภาษาอังกฤษในวัดยังทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับอีกแง่มุมหนึ่งของวัดที่พวกเขาไม่เคยได้มีโอกาสสัมผัสมาก่อน กิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การทำวัตรเช้าไปจนถึงช่วงฉันเพล ล้วนมอบประสบการณ์ที่ไม่มีวันลืมให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ลองมาสัมผัสดู แล้วจะรู้ว่าการได้มากินข้าวแกงแบบไทยๆ ดีกว่ากินฟาสต์ฟู้ดเป็นไหนๆ

อาบน้ำให้ช้าง

นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอาจไม่คิดไม่ฝันว่าวันหนึ่งจะได้พาช้างไปอาบน้ำในแม่น้ำ

ช้างที่เชียงใหม่มีปัญหาเรื่องไม่มีงานทำ ในสมัยก่อน ช้างมีหน้าที่ลากซุงไปยังแม่น้ำเพื่อทำสะพาน แต่ตอนนี้ใครๆ ก็ใช้เครื่องจักรกันหมดแล้ว แถมอุทยานแห่งชาติทั้งหลายก็มีส่วนทำให้ช้างสูญเสียการดำรงชีวิตแบบเดิมของมันไป ศูนย์อนุรักษ์ช้างได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเพื่อให้ช้างมีกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป (ไม่ได้ล้อเล่นนะ) การเตะฟุตบอล หรือการอาบน้ำซึ่งอาจจะอาบบ่อยกว่าคนเสียอีก

ช้างต้องหาเลี้ยงตัวเองโดยการแสดงโชว์ให้นักท่องเที่ยวชม การให้ขี่หลัง และการให้อาสาสมัครได้มีโอกาสทำงานร่วมกับมัน แม้ทุกอย่างจะเป็นธุรกิจ แต่บรรดาช้างเหล่านี้ก็ทำหน้าที่ได้ดี สำหรับองค์กรเรื่องช้างที่เชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นได้แก่ Elephantnaturepark.org ซึ่งมีโครงการรับสมัครอาสาสมัครในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลทั่วไป สัตวแพทย์ และสัตวแพทย์ฝึกหัด

ฝึกงานอย่างมืออาชีพ

สถาบันและกลุ่ม NGO หลายแห่งในเชียงใหม่กำลังเปิดรับให้นักศึกษาจากต่างชาติเข้ามาฝึกงาน แต่มักไม่มีค่าตอบแทนให้ แถมงานส่วนใหญ่ที่ดำเนินการผ่านบริษัทตัวแทนในท้องถิ่นยังต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย การที่ต้องเดินทางมาไกลแถมยังต้องจ่ายเงินเพื่อให้บริษัทจ้างตัวเองอีกนั้นทำให้นักศึกษาต่างชาติหลายคนถอดใจ แต่รับรองได้ว่าถ้าได้ลองมาทำแล้ว ประวัติในใบสมัครงานจะต้องออกมาดูดีแน่นอน

สำหรับสาขาที่เปิดรับมากที่สุดในเชียงใหม่ก็คือนักศึกษาเตรียมแพทย์ โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งในตัวเมืองมีการเปิดรับนักศึกษาฝึกงานจากต่างชาติเข้ามา โดยให้จับคู่ทำงานร่วมกับแพทย์ที่พูดภาษาอังกฤษได้ นักศึกษาแต่ละคนจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด พวกเขาจะได้มีโอกาสเดินดูอาการผู้ป่วย เป็นผู้ช่วยแพทย์ และสังเกตขั้นตอนการรักษา

นักศึกษาที่ผ่านการรับรองแล้วจะได้รับผิดชอบหน้าที่ในระดับสูงขึ้น แต่เกณฑ์ของที่นี่นั้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโครงการนักศึกษาฝึกงานในเมืองนอก เรื่องนี้อาจทั้งน่าตื่นเต้นหรืออาจจะน่ากลัวหน่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่านักศึกษาเหล่านั้นได้รับผิดชอบหน้าที่ด้านไหน แต่ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตาม ทุกอย่างก็จะต้องอยู่ในความดูแลที่เข้มงวดของแพทย์

โครงการนักศึกษาแพทย์ฝึกงานที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือนั้น ได้แก่ Friends for Asia โดยมีผู้ก่อตั้งคือหน่วยอาสาสมัครเพื่อสันติภาพของอเมริกา (Peace Corps veteran) ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาสาสมัครหลักๆ ในเชียงใหม่